เมื่อพื้นที่สีเขียวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเติมเต็มความสวยงาม ความร่มรื่นและความสุขของพื้นที่ต่างๆ เช่น บ้าน คอนโด สำนักงาน เราจึงอยากได้สวนสวยที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่สามารถสร้างร่มเงาและความสวยงามได้ในทันที แบบที่ไม่ต้องปลูกตั้งแต่ต้นกล้า บ่อยครั้งเราจึงใช้ “ทางลัด” หาต้นไม้ที่มีขนาดสูงใหญ่ตามที่เราต้องการมาปลูกเพื่อสร้างภูมิทัศน์แบบสวยได้ในทันทีดังนั้นไม้ค้ำยันต้นไม้จึงเข้ามามีบทบาทในงานจัดสวนหรืองานจัดภูมิทัศน์เพื่อยึดต้นไม้ที่เราล้อมมาลงปลูกและป้องกันต้นไม้ล้ม เนื่องจากรากของต้นไม้ยังไม่เกาะกับพื้นดิน ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่เราซื้อมานั้น ในขั้นตอนการขุดล้อมออกมาจะถูกตัดรากส่วนหนึ่งออก ซึ่งรากมีความสำคัญอย่างมากในการยึดลำต้นของต้นไม้ให้ทรงตัวอยู่ได้ โดยต้นไม้ขุดล้อมที่มีรากไม่สมบูรณ์นั้น มีโอกาสที่จะโค่นล้มได้ง่ายมากกว่าต้นไม้ที่ปลูกจากเมล็ดหรือต้นกล้าที่มีรากแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากเรื่องของรากของต้นไม้ขุดล้อม ยังมีเรื่องของสภาพพื้นที่ปลูกเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สภาพดิน ในกรณีเป็นดินอ่อน ดินชุ่มน้ำ ดินโคลน จะเป็นปัจจัยทำให้ต้นไม้โค่นล้มได้ง่ายขึ้น เมื่อจุดประสงค์ของไม้ค้ำยัน คือ การป้องกันต้นไม้ล้ม ดังนั้นความแข็งแรงของไม้ค้ำยัน จึงต้องมาก่อนความสวยงาม วันนี้เรามาดูกันว่ารูปแบบการค้ำยันที่นิยมใช้กันมีรูปแบบไหนบ้าง
1) การค้ำยันแบบโครงเหล็กการค้ำยันแบบโครงเหล็ก มีข้อดีตรงที่ความแข็งแรงและมีอายุการใช้งานที่นานกว่า เพราะส่วนใหญ่โครงเหล็กจะถูกเชื่อมมาเป็นชิ้นเดียวกัน ไม่ต้องใช้ตะปูตอกเชื่อมไม้แต่ละชิ้นเข้าด้วยกันเหมือนการค้ำยันแบบไม้และมักมีการเทฐานปูนเพื่อยึดโครงสร้างค้ำยันเหล็กกับพื้นดิน ไม้ค้ำยันแบบโครงเหล็กจึงป้องกันต้นไม้ล้มได้ดีกว่า
2) การค้ำยันแบบไม้
การค้ำยันรูปแบบไม้เป็นรูปแบบที่พบเห็นกันได้บ่อยทั่วไปตามต้นไม้บริเวณสวนหน้าตึก ต้นไม้ริมถนนใหญ่ และตามสถานที่ราชการทั่วไป เพราะราคาถูกและทำได้ง่าย
แต่มีข้อควรระวังในการติดตั้งที่ไม่ควรตอกตะปูเพื่อยืดโครงไม้ ลงในเนื้อไม้เพราะอาจทำให้ต้นไม้ที่เราต้องการค้ำยัน ลำต้นติดเชื้อและแมลงเข้าเจาะทำลายได้
3) การค้ำยันแบบลวดสลิง
การค้ำยันแบบลวดสลิงนี้ จะนำมาใช้งานเมื่อต้องการความสวยงาม ไม่เกะกะสายตา แต่ราคาในการติดตั้งจะค่อนข้างสูงและต้องมีการปรับคลายวงลวดรอบต้นไม้เป็นประจำเพื่อไม่ให้ลวดที่รัดบริเวณลำต้น รัดเปลือกไม้จนเกิดเป็นรอยแผล
การค้ำยั้นต้นไม้ใหญ่ทั้ง 3 รูปแบบ ในขั้นตอนการติดตั้ง ควรจัดตำแหน่งค้ำยันให้อยู่ในระดับความสูงประมาณ 1 ใน 3 ของความสูงต้นไม้ทั้งต้น เช่น ต้นไม้มีความสูง 3 เมตร ควรติดตั้งไม้ค้ำยันให้อยู่ที่ระดับความสูง 1 เมตรจากผิวดิน การติดตั้งไม้ค้ำยันให้มีความแข็งแรงและสวยงาม จำเป็นต้องมีการวางแผน ตั้งแต่ก่อนนำต้นไม้แต่ละต้นลงปลูก เพราะมีผลต่อจำนวนไม้ค้ำที่ต้องเตรียม รวมถึงรูปแบบการค้ำยัน เช่น ค้ำยันในรูปแบบคอกสี่เหลี่ยม, ค้ำยันในรูปแบบกระโจม ซึ่งการค้ำยันในแต่ละรูปแบบใช้จำนวนไม้ไม่เท่ากัน
“รากดี” พร้อมให้คำปรึกษา ช่วยเหลือด้านการจัดภูมิทัศน์ รวมถึงไม้ขุดล้อม การค้ำยันและบริการดูแลสวนและภูมิทัศน์ทั่วไปโดยทีมผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายด้าน ปรึกษาทีมผู้เชี่ยวชาญได้ที่ Line@ https://bit.ly/3vFVcWa
#ไม้ค้ำยัน #การค้ำยันต้นไม้ #รากดี #RakD #รากฐานที่มั่นคงเพื่อความสุขที่ยั่งยืน #LandscapeBusiness #RakDLandscape #จัดสวน #จัดภูมิทัศน์ #ออกแบบจัดสวน #จัดสวนครบวงจร #ออกแบบให้คำปรึกษาด้านภูมิทัศน์ #ดูแลรักษาภูมิทัศน์ #รับตัดแต่งต้นไม้สนามหญ้า #รับย้ายต้นไม้ใหญ่ #รับขุดล้อมต้นไม้